ระบบภูมิคุ้มกัน
หรือ Immune system
คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ
ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเราได้ เช่น เชื้อโรคชนิดต่างๆ ได้แก่ แบคทีเรีย
ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น
เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย
การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งต่างๆ
เหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายยังไม่รู้จัก เรียกว่า antigen
ทีมาของภาพ http://www.123rf.com/stock-photo/immune_system.html
ระบบภูมิคุ้มกันแบ่งเป็น
2 ระบบ
1.Innate
immunity คือระบบภูมิคุ้มกันที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
ได้แก่ พื้นผิวที่สัมผัส antigen
โดยตรง คือ ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมซึ่งส่วนใหญ่คือเชื้อโรคออกไปจากร่างกาย
ดังนี้
- ผิวหนัง
เชื้อโรคไม่สามารถบุกรุกผิวหนังปกติที่ไม่มีบาดแผล
อีกทั้งความเป็นกรดของไขมันที่ผลิตออกมาจากต่อมไขมันที่ผิวหนัง ได้แก่ lactic acid และ fatty acid ช่วยยับยั้งและทำลายเชื้อโรค
หากผิวหนังชั้นนอกเปิดออก เช่น มีบาดแผล หรือ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
เพราะมีอาหารอันอุดมสมบูรณ์และสิ่งแวดล้อมพอเหมาะ
เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบเป็นหนอง หากเป็นแผลเล็กๆ
ระบบภูมิคุ้มกันจะกำจัดเชื้อออกไป เพียงล้างแผลให้สะอาด รักษาแผลให้แห้ง
ก็หายเป็นปกติได้เอง แต่ถ้าแผลขนาดใหญ่และลึก แผลถูกความร้อนเป็นบริเวณกว้าง ก็เกินกำลังที่ภูมิคุ้มกันจะจัดการไหว
เชื้อโรคสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย
ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (septicemia) และเป็นสาเหตุให้ช็อกและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
จึงต้องให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ผู้เข้าไปดูแลผู้ป่วยต้องสวมหมวกและเสื้อคลุม ผูกผ้าปิดจมูกและปาก ล้างมือให้สะอาด
สวมถุงมือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ดูแล
อีกทั้งต้องให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อโรคให้ครบชนิด
- เยื่อบุหลอดลมมีเซลล์ที่มีขน (hairy cell) คอยพัดโบกเชื้อโรคให้ออกไปจากหลอดลม
อีกทั้งมีเซลล์ผลิตเสมหะ (goblet
cell) ที่เหนียวหนืด
ไว้คอยดักจับเชื้อโรคคล้ายกาวจับแมลงวันเพื่อไม่ให้เข้าสู่เยื่อบุหลอดลม
ผู้สูบบุหรี่จัด เซลล์ขนเสียหน้าที่ไป จึงป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบบ่อยๆ
- น้ำมูก
น้ำลาย น้ำตา มีหน้าที่ชะล้างเชื้อโรคออกไปจากเยื่อบุ
อีกทั้งในสารคัดหลั่งเหล่านี้ยังมี enzyme ที่มีคุณสมบัติในการย่อยทำลายเชื้อโรคอย่างอ่อนๆ
อีกด้วย จะเห็นว่าเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา หรือเยื่อบุตาอักเสบ
ต่อมน้ำตาจะหลั่งน้ำตาเป็นปริมาณมากออกมาขับไล่สิ่งแปลกปลอมออกไป
หรือเมื่อสิ่งแปลกปลอม สารระคายเคืองเข้าจมูกหรือเป็นหวัด
เยื่อบุจมูกจะหลั่งน้ำมูกออกมาก และจามบ่อย เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมเช่นเดียวกันกัน
- การไอช่วยขับไล่สิ่งแปลกปลอมที่เราสำลักเข้าไปในหลอดลมและปอด
หากสิ่งแปลกปลอมทำให้เกิดการระคายเคืองมาก เราก็ยิ่งไอนาน ไอจนกว่าจะหลุดออกมา
ในผู้สูงอายุระบบต่างๆทำงานเฉื่อยลงรวมถึงการไอด้วย ผู้สูงอายุจึงเป็นปอดอักเสบจากการสำลักได้บ่อย
ในผู้ที่จมน้ำก็เช่นกัน ถ้าว่ายน้ำธรรมดา สำลักน้ำเพียงเล็กน้อยมักไม่มีปัญหา
สายเสียงและฝาปิดกล่องเสียงจะปิดทันทีเพื่อป้องกันน้ำเข้าไปในหลอดลมเพิ่ม
แต่ในกรณีจมน้ำระบบนี้เสียไปเมื่อผู้จมน้ำนานจนหมดสติ
น้ำจึงเข้าไปในปอดในปริมาณมาก และถ้าเป็นน้ำครำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคนานาชนิด
ทั้งทรงกลม (cocci) ทรงแท่ง (basilli) เชื้อที่ต้องอาศัยออกซิเจน (aerobic bacteria) และไม่อาศัยออกซิเจน (anaerobic bacteria) เชื้อรา โปรโตซัว
เกินขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันจัดการไหว ต้องกระหน่ำยาต้านจุลชีพหลายขนานอีกแรง
จึงปลอดภัยจากปอดอักเสบรุนแรงจากแบคทีเรียในขั้นต้น
และไม่ติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดจนช็อก
- - ความเป็นกรดของสารคัดหลั่งในช่องคลอดช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค
- - ความแรงของกรดในกระเพาะอาหารที่ฆ่าเชื้อโรคแทบไม่เหลือ
ยกเว้นเชื้อทนกรดเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
นอกจากนี้ความสมดุลของเชื้อโรคนานาชนิดที่อาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
ยังช่วยป้องกันเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากจนเป็นก่อโรค
ที่มาของภาพ https://caclinic.wordpress.com/category/immune-system-2/
2.Acquired
immunity คือภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง
หากเชื้อโรคสามารถฝ่าด่านแรกเข้าสู่ใต้เยื่อบุหรือผิวหนังที่มีบาดแผลได้แล้ว
เซลล์ต่างๆของระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ให้ออกไปพ้นจากร่างกาย
เซลล์เหล่านี้เจริญเติบโตมาจาก stem cell อันเป็นเซลล์ต้นตอในไขกระดูก
(พบที่รกด้วย) ซึ่งเติบโตแปรสภาพ (differentiate) ไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ เมื่อเซลล์เหล่านี้โตเต็มที่แล้วจึงออกมาสู่กระแสเลือด
ล่องลอยไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆ
ทั่วร่างกายตามหน้าที่เฉพาะตัวแตกต่างกันไปของเซลล์แต่ละชนิด
ซึ่งทำงานสอดคล้องประสานกันเป็นระบบอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนี้
- granulocyte
เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่มี granule มากมายในเซลล์
ส่วนใหญ่อยู่ในกระแสเลือด มีหน้าที่กรูกันมาจัดการกับ antigen โดยกิน (engulf) เชื้อแบคทีเรีย ฆ่าปรสิต
เมื่อเซลล์เหล่านี้กิน antigen
เข้าไปแล้ว ได้ใช้ enzyme ที่อยู่ใน granule ย่อยสลายเชื้อโรคและแปรสภาพเป็นหนอง
หากอยู่ในกระแสเลือดก็กลายเป็นซากแล้วถูกกำจัดไป
- monocyte เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีจำนวนน้อยในกระแสเลือด
มีหน้าที่กินเชื้อโรคในกระแสเลือดและเก็บกินซากที่เกิดจากการทำลายเชื้อโรค
- macrophage
เป็น monocyte ที่อยู่ในเนื้อเยื่อ กระจายอยู่ในอวัยวะต่างๆ
เมื่อกิน antigen เข้าไปแล้ว จะทำหน้าที่เป็น antigen presenting cell (APC) คือส่งสัญญาณจาก antigen ต่อมาให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T lymphocyte เพื่อรับหน้าที่ต่อไป
- dendritic
cell มีหน้าที่เช่นเดียวกับ
macrophage
- lymphocyte
เป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่แข็งขันที่สุด
แบ่งตามหน้าที่เป็น 2 ชนิด คือ
1.B
lymphocyte เมื่อสัมผัสกับ
antigen แล้ว จะเปลี่ยนไปเป็น plasma cell มีหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันด้านสารน้ำเรียกว่า
humoral immunity (HI) คือภูมิต้านทาน (antibody) ที่จำเพาะต่อเชื้อนั้น
ประกอบด้วยโปรตีน globulin
ชนิดต่างๆ เรียกว่า immunoglobulin มีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ IgG, IgA, IgM, IgD, IgE ทำหน้าที่จับติดกับ antigen แล้วทำลายด้วยวิธีต่างๆที่สลับซับซ้อน
ส่วนใหญ่ภูมิต้านทานเหล่านี้จะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต
เพราะมีเซลล์ที่แปรสภาพเป็นเซลล์ความจำ (memory cell) ทำหน้าที่จำเชื้อที่เคยพบแล้ว
เมื่อเชื้อเดิมเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เซลล์ความจำก็จะระดมพลเพื่อสร้าง immunoglobulin ออกมาในปริมาณมากทันทีภายในสัปดาห์แรกที่ติดเชื้อ
จึงสามารถกำจัดเชื้อโรคออกไปโดยไม่ทันก่อโรค
ต่างจากการติดเชื้อในครั้งแรกที่ระดับภูมิต้านทานขึ้นในสัปดาห์ที่ 2
ที่มาของภาพ http://miepdev.vbi.vt.edu/models/cd4-t-cell-model-archive/
2.T
lymphocyte เริ่มงานเมื่อได้รับสัญญาณจาก
APC มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันด้านเซลล์
เรียกว่า cell-mediated
immunity (CMI) ที่สำคัญมี
3 ชนิด คือ
- T helper หรือ CD4 มีหน้าที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
เมื่อได้รับสัญญาณจาก APC
มันจะกลายเป็น sensitized T cell ที่มีอานุภาพสูง
หลั่งสารมากมายหลายชนิดออกมาจากเซลล์เรียกว่า cytokines เพื่อกระตุ้นเซลล์ชนิดต่างๆในระบบภูมิคุ้มกันให้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนระดมพล
และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคเหมือนทหารที่ฮึกเหิมพร้อมออกศึก
- T
suppressor หรือ
CD8
มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งยับยั้งการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันเมื่อหมดความจำเป็นแล้ว
ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายต่อร่างกายจากการทำงานที่เกินเลยของระบบภูมิคุ้มกัน
- natural
killer cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง
และเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสเป็นหลัก
จะเห็นว่าเซลล์เหล่านี้ทำงานประสานกันอย่างดีเยี่ยม
เพื่อรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันไม่มากไปหรือน้อยไปจนเกิดความเสียหายตามมา
ที่มาของภพ https://en.wikipedia.org/wiki/Immune_system
เรารู้จักเซลล์เหล่านี้ดีเมื่อโรคเอดส์ระบาด
เพราะโรคเอดส์เกิดจากเชื้อ Human Immunodeficiency Virus ( HIV) ไปทำลายเซลล์ CD4 ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์บกพร่องเป็นหลัก
จึงติดเชื้อฉวยโอกาสง่าย
บทความจากนิตยสาร
health today โดย พญ.สมศรี ประยูรวิวัฒน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น