วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ระบบภูมิต้านทานร่างกาย Immune System

ระบบภูมิต้านทานร่างกาย Immune System 



เครดิตภๅพ http://ezcpak.com/wp-content/uploads/2015/06/ezcpak_immune_system.jpg

คือระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมดของ ร่างกายที่ทำหน้าที่คอยป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม ที่เป็นอันตรายเข้ามาทำอันตรายต่อร่างกายหรือเมื่อหลุดเข้ามาแล้ว ระบบภูมิคุ้มกัน ก็จะพยายามทำลาย กำจัดสิ่งแปลกปลอมให้ หมดไปจากร่างกายโดยเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่โดยสังเขปของระบบอิมมูนร่างกายคือ

- Defense ป้องกันและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
- Homeostasis คอยกำจัดเซลปกติที่เสื่อมสภาพเช่นเม็ดเลือดที่มีอายุ มากแล้ว ออกจากระบบของร่างกาย
- Surveillance คอยจับตาดูเซลต่างๆที่จะ แปรสภาพผิดไปจากปกติ เช่น คอยดักทำลาย tumor cells
เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ความสามารถในการตอบสนองของระบบอิมมูนต่อสิ่งแปลกปลอมนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นกับ ปัจจัยบางอย่างดังต่อไปนี้

1.Genetic factors ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า การตอบสนองทางระบบอิมมูนอยู่ภายใต้การควบคุมทาง genetic ดังหลักฐานการค้นพบไม่นานนี้ เกี่ยวกับ genetic complex บนโครโมโซม ซึ่งควบคุมการตอบ สนองทางอิมมูน และควบคุมชนิดของ histocompatibility antigens ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือคู่แฝดชนิดที่กำเนิดจากไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twin) มักจะ เป็นโรคเดียวกัน มากกว่าคู่แฝด ที่กำเนิดจากไข่คนละใบ (dizygotic twin) และโรคบางอย่างมักเป็นในกลุ่ม ชนเชื้อชาติหนึ่งมากกว่าอีก เชื้อชาติหนึ่งเป็นต้น ปัจจุบันเขื่อว่าโรคต่างๆ ในมนุษย์เกิดจากความล้มเหลวของ genes ที่ควบคุมการตอบสนอง
ทางอิมมูน

2.Age factors เด็กเล็กๆ และผู้สูงอายุเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าในคนหนุ่มสาวทั้งนี้เพราะในเด็กเล็ก ๆ ระบบ อิมมูนยังเจริญไม่เต็มที่ ขาด specific immunity ที่จะใช้ป้องกันโรค ขณะเดียวกันระบบ non-specific immunity ก็บกพร่องด้วย เช่น ผิวหนังบาง และกลไก การเกิด การอักเสบยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เป็นต้นเมื่ออายุมากขึ้น การทำหน้าที่ของระบบอิมมูนในร่างกายจะค่อยๆ ลดลงไป
ในผู้สูงอายุปริมาณของอิมมูนโนโกลบูลิน และการทำ หน้าที่ของ cell mediated immunity จะน้อยกว่าคนหนุ่มสาว จะเห็นได้ว่า นอกจากผู้สูงอายุจะเป็น โรคติดเชื้อได้ง่ายแล้ว อัตราการเกิดโรค autoimmune และโรคมะเร็ง จะมีมากกว่าในคนหนุ่มสาว

3.Metabolic factors ฮอร์โมนบางชนิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบอิมมูน เช่น steroid จะมีฤทธิ์ยับยั้ง phagocytosis
 ลดการอักเสบ และลดการสร้างแอนติบอดีย์ จะเห้นได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับ steroid นานๆ จะเกิดโรคบางชนิด ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น โรคสุกใส (varicella), การติดเชื้อ staphylococus เป็นต้น

4.Environmental factors สิ่งแวดล้มก็มีความสำคัญ กลุ่มชนที่ยากจนจะมีอัตราการเกิดโรคต่างๆสูงกว่ากลุ่มชน ที่มีความเป็นอยู่ดีกว่า ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการรวมทั้งการขาดอาหาร ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบ อิมมูนเลวลง

5.Anatomic factors ผิวหนังและเยื่อเมือกที่บุอวัยวะต่างๆทำหน้าที่เป็นด่านแรกที่ร่างกายใช้ป้องกันไม่ให้ เชื้อโรค เข้าสู่ร่างกายในผู้ป่วยที่เป็น eczema หรือ burns คุณสมบัติดังกล่าวจะเสียไป เกิดการติดโรคและแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ง่ายกว่าในคนปกติ

6.Microbial factors จุลชีพประจำถิ่น (normal flora) ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยไม่ทำให้เกิดโรคเช่นใน ลำไส้ นอกจาก จะช่วยผลิตวิตามิน K ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ จุลชีพที่ทำให้เกิดโรค (pathogenic microorganism) ได้ด้วย เมื่อใดก็ตามที่จุลชีพชนิดแรกถูกทำลาย เช่น ได้รับ broad-spectrum antibiotic จุลชีพให้เกิดโรค จะทวีจำนวนขึ้นเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้นได้

7.Physiologic fictors ที่มีอยู่ในร่างกายช่วยป้องกันโรคได้ เช่นน้ำย่อยในกะเพาะอาหาร ขนอ่อน (cilia) ในระบบทางเดินหายใจ การขับถ่ายปัสสาวะ ฯลฯ ถ้าสิ่งดังกล่าวผิดไปจากปกติ จุลชีพจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น



เครดิตภๅพ http://www.novabizz.com/NovaAce/ImmuneSystem.htm

หลักการเรื่องภูมิต้านทานร่างกายนี้ได้ถูกนำมาใช้อธิบายทั้งในการรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ใช้อธิบายกลไก การเกิดการอักเสบ การซ่อมแซมของเนื้อเยื่อและการเกิดโรค
 ถึงแม้ปัจจุบันจะมี chemotherapeutic agentsและ การรักษาในรูปแบบอื่นๆด้วยก็ตาม แต่ก็ล้วนเป็นเพียงการช่วยเสริมกลไกของระบบภูมิชีวิต-ภูมิต้านทานในร่างกาย นั้นเอง

การผ่าตัดใหญ่ต่างๆก็ต้องพึ่งความรู้ด้าน immunohematology มาใช้ในการเลือกเลือดที่เหมาะและเข้า กันได้ระหว่างเลือดของผู้ให้และเลือดของผู้รับ มิฉะนั้นจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

การปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะก็ต้องใช้ ความรู้ทางด้านภูมิต้านทานร่างกาย (อิมมูโนวิทยา) เข้ามาช่วยในการตรวจหาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อระหว่าง ผู้รับและผู้ให้อวัยวะ เรียกว่าการทำ
 histocompatability matching และในการควบคุมระบบภูมิต้านทานของ ผู้รับเพื่อลดการต่อต้านต่อเนื่อเยื่อที่นำมาเปลี่ยนใหม่ ในปัจจุบันโรคเลือดที่สำคัญๆ ล้วนต้องใช้ความรู้เรื่อง อิมมูโน วิทยาเข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรคและในการรักษา ตลอดจนใช้ในการอธิบายพยาธิกำเนิดของโรค โรคทางระบบ ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร  ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ แม้ระบบต่อมไร้ท่อก็ต้องอาศัย วิธิการ
ทางอิมมูโนวิทยามาช่วยในการหาระดับฮอร์โมนในร่างกาย



เครดิตภๅพ  http://www.goodlifeconnoisseur.com/immune-system/

วิธีการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบใหญ่คือ
1. Non-specific immune response  เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายโดยวิธีการง่ายๆ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมนั้นเป็นครั้งแรก หรือแม้ได้รับอีกในคราวต่อมา ร่างกายก็อาจใช้วิธีการนี้กำจัดสิ่งแปลกปลอมร่วมกับ specific immune response

1.1 Barrier หรือเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ผิวหนัง เยื่อเมือก ซึ่งบุตามอวัยวะต่างๆ ขนอ่อน (cilia) เมื่อสิ่งแปลกปลอมนั้นสามารถผ่าน barrier นี้เข้าไปได้จะถูกร่างกายกำจัดโดยใช้ inflammatory response และ phagocytosis

 1.2 Inflammatory response เป็นการเคลื่อนย้ายของ phagocytic cell (neutrophilic granulocyte และ macrophage) มายังบริเวณที่มีสิ่งแปลกปลอม บริเวณนั้นจะมีลักษณะจำเพาะคือ ปวด บวม แดง ร้อน และจะพบว่าประมาณ 30-60 นาที หลังจากที่สิ่ง แปลกปลอมเข้าไป เม็ดเลือดขาว
จำพวก neutrophilic granulocyte จะเป็นพวกแรกที่มาถึงบริเวณนี้ โดยการลอดตัวผ่านออกทาง รอยต่อของ endothelial cell ของเส้นเลือดออกมาในเนื้อเยื่อ เพื่อจะมากินและทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ประมาณ 4-5 ช.ม. หลังจากนั้นเซลล์อีกพวกหนึ่งคือ mononuclear cells ซึ่งได้แก่ Iymphocyte จึงจะผ่าน endothelial cell ออกมาแล้ว monocyte จะเปลี่ยนเป็น macrophage ส่วนเม็ดเลือด ขาว Iymphocyte
 จะมาทำหน้าที่ specifie immune response ดังจะได้กล่าวต่อไป

1.3 Phagocytosis หรือ cell-eating เมื่อพวก neutrophilic granulocytes และ macrophage มาถึง จะเคลื่อนตัวไปหาสิ่งแปลกปลอมนั้น (chemotaxis) แล้วประกบติด (attachment) ต่อมาจะกลืน (ingestion)
 แล้วจึงมีการย่อย (intracellular digestion) ด้วยกลไกหลายอย่างในเซลล์ แล้วจึงปล่อย สิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำลายแล้วออกไปจากเซลล์ (elimination)

2. Specific immune response เป็นการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่ต้องอาศัยกลไกที่ยุ่งยากกว่าวิธีแรก เกิดขึ้นเมื่อร่ายกายไม่สามารถใช้วิธี non-specific immune response กำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกไปได้ เซลล์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้คือ lymphocytes สิ่งแปลกปลอมในที่นี้มีชื่อเรียกใหม่ว่า แอนติเจน (antigen) หรืออิมมูโนเจน (immunogen) การตอบสนอง ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 Humoral immune response คือการตอบสนองทางอิมมูนโดยการใช้สารน้ำ ซึ่งหมายถึง แอนติบอดีย์ (antibody) เซลล์ที่รับผิดชอบในเรื่องน้คือ B Lymphocyte
และ plasma cell นอกจากนี้ยังมีสารน้ำ อื่นๆ ช่วยส่งเสริมการทำงานของ specific immunity คือ complement

2.2 Cell-mediated immune response หรือ Cell-mediated immunity (CMI) เซลล์ที่รับผิดชอบ คือ Specifically Sensitized Lymphocyte
 (SSL) หรือ T lymphocyte ซึ่งมีหน้าที่ผลิตสาร lymphokines

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.novabizz.com/NovaAce/ImmuneSystem.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น